ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว

เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว (ญี่ปุ่น: ????! Keion! ?; อังกฤษ: K-On!) เป็นมังงะซึ่งแต่งเรื่องและเขียนภาพโดย คาคิฟลาย (Kakifly) ลงเป็นตอน ๆ ในนิตยสารแนวเซเน็ง มังงะไทม์คิระระ (Manga Time Kirara) และนิตยสาร มังงะไทม์คิระระกะรัต (Manga Time Kirara Carat) ของสำนักพิมพ์โฮบุนชะ (Houbunsha) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2550 ถึงเดือนตุลาคม 2553

ในประเทศญี่ปุ่น เกียวโตแอนิเมชัน (Kyoto Animation) ผลิตมังงะดังกล่าวเป็นอะนิเมะโทรทัศน์ ใช้ชื่อเดียวกัน ความยาวสิบสามตอน ฉายตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2552, โอวีเอความยาวหนึ่งตอน ขายในเดือนมกราคม 2553, อะนิเมะโทรทัศน์ ฤดูกาลที่สอง ความยาวยี่สิบหกตอน ใช้ชื่อว่า เค-อง!! (K-On!!) ฉายตั้งแต่เดือนเมษายนถึงกันยายน 2554, โอวีเอ ความยาวหนึ่งตอน ขายในเดือนมีนาคม 2554, และอะนิเมะโรง ฉายตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2554 ตามลำดับ เนื้อหาต่อเนื่องกัน

เรื่องราวว่าด้วยเด็กสาวสี่คนซึ่งเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนซากุระงาโอกะ (?????( Sakuragaoka k?k? )?; Sakuragaoka High School) ได้แก่ ฮิราซาวะ ยุย, อากิยามะ มิโอะ, ไทนากะ ริทสึ, และโคโตบุกิ สึมุกิ ตามลำดับ ทั้งสี่เป็นสมาชิกชมรมดนตรีของโรงเรียน ชื่อว่า ชมรม "เค-อง" (K-On) ย่อมาจาก "คารุอิ-องงะกุ" หรือ "เค-องงะกุ" (???( keiongaku )?) หมายถึง ดนตรีเบา (light music) ซึ่งเป็นดนตรีป๊อปแขนงหนึ่งของญี่ปุ่น

ในตอนต้น ยุยเล่นดนตรีไม่เป็น แต่ภายหลัง ทั้งฝึกฝนเอง และเพื่อนร่วมชมรมช่วยฝึกฝนให้ จึงเรียนรู้ดนตรีจนสามารถเล่นกีตาร์ นับแต่นั้น ยุย พร้อมด้วยมิโอะ ซึ่งเล่นเบส, ริทสึ เล่นกลองชุด และสึมุกิ เล่นคีย์บอร์ด ก็ตั้งวงดนตรีประจำชมรมออกแสดงดนตรี และใช้ชีวิตร่วมกัน

ชมรมเค-องมียามานากะ ซาวาโกะ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ซาวาโกะเองเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนซากุระงาโอกะ และเคยเป็นสมาชิกชมรมเค-องเช่นกัน สมัยนั้น เธอและเพื่อนตั้งวงดนตรีชื่อ "เดธเดวิล" (Death Devil) ต่อมา เธอตั้งชื่อให้วงดนตรีของยุยว่า "เวลาน้ำชาหลังเลิกเรียน" (?????????( H?kago T? Taimu )?; ราชบัณฑิตยสถาน: โฮกะโงะทีไทม์; Hokago Tea Time) เนื่องมาจากสมาชิกชมรมเค-อง รวมทั้งเธอเอง มักจิบน้ำชาลอยชายกันเมื่อเลิกเรียน มากกว่าจะซ้อมดนตรี

เมื่อสมาชิกทั้งสี่ขึ้นสู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แล้ว ชมรมก็ได้สมาชิกใหม่อีกหนึ่งคน เป็นนักกีตาร์รุ่นน้องชื่อ นากาโนะ อาซึสะ ครั้นทั้งสี่สำเร็จการศึกษาและเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยสตรีเจ. (J. Women's University) ด้วยกัน เหลืออาซึสะเป็นสมาชิกชมรมเพียงผู้เดียว เธอจึงสืบทอดชมรม โดยตั้งวงดนตรีใหม่ของชมรม ชื่อวง "วะกะบะเกิลส์" (Wakaba Girls) มีซาวาโกะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาเช่นเคย และได้สมาชิกใหม่ คือ ฮิราซาวะ อุย น้องของยุย และเป็นเพื่อนร่วมห้องของเธอ, ตลอดจน สึซึกิ จุน, ซาอิโต สุมิเระ และโอคุดะ นาโอะ ร่วมดำเนินชีวิตวัยเรียนด้วยกันต่อไป

มังงะเริ่มตีพิมพ์ในนิตยสาร มังงะ ไทม์ คิราระ ในสำนักพิมพ์ โฮบุนชะ ในฉบับเดือนพฤษภาคม 2007 จำหน่ายเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2007และมังงะยังได้ตีพิมพ์ลงในนิตยสารรายปักษ์ชื่อ มังงะ ไทม์ คิราระ คารัท ด้วย ในฉบับเดือนตุลาคม 2008 จำหน่ายเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2008 และฉบับรวมเล่ม เล่มแรกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2008 เล่มสองวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2009 เล่มสามวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2010 และเล่มสี่ซึ่งเป็นเล่มสุดท้ายวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2010 มีลิขสิทธิ์จำหน่ายต่างประเทศได้แก่ ทวีปอเมริกาเหนือ ลิขสิทธิ์โดย Yen Press ประเทศไทย ลิขสิทธิ์โดย สยามอินเตอร์คอมิกส์ ประเทศอินโดนีเซีย ลิขสิทธิ์โดย Elex Media Komputindo สำหรับ Anthology ของ เค-อง! ได้แก่, มินนะ เดะ อุนตัน! เป็นการนำศิลปินหลายคนมาวาดเรื่องเค-อง!, K-On! Anthology Comic (ญี่ปุ่น: ????!?????????? Keion! Ansoroj? Komikku ?) วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2009 เล่มที่สองวางจำหน่ายวันที่ 27 เมษายน 2010 โดย โฮบุนฉะ, อัลบั้มรวมภาพจากทั้งออฟฟิเชล อาร์ตและแฟนอาร์ตจากนักวาดโดจิน วางจำหน่ายวันที่ 27 มกราคม 2010

สำหรับอะนิเมะเรื่องนี้ ค่าย เกียวโตแอนิเมชันเป็นผู้ผลิต กำกับโดย นาโอโกะ ยามาดะ และ เขียนบทโดย เรอิโกะ โยชิดะ ซึ่งเริ่มฉายเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2009 ทางช่อง TBS ในญี่ปุ่น และช่องอื่นๆ เช่น BS-TBS, MBS, และ Chubu-Nippon Broadcasting โดยทางช่อง TBS นั้นจะฉายในภาพอัตราส่วน 4:3 และทางช่อง BS-TBS นั้นจะฉายในรูปแบบไวด์สกรีนในอัตราส่วน 16:9 เริ่มฉายเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2009 สำหรับการวางจำหน่าย ดีวีดี และ บลูเรย์ รวมทั้งหมด 7 แผ่น วางจำหน่ายโดย Pony Canyon ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม 2009 ถึง 20 มกราคม 2010 โดยในแผ่นสุดท้ายจะใส่ตอนพิเศษลงไปด้วย ในวันที่ 20 ธันวาคม 2009 ได้มีการประกาศลิขสิทธิ์ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการโดยจัดทำตามต้นฉบับนั้นคือ 7 แผ่นจบพร้อมทั้งแผ่น un-ten ด้วย โดยชุด Box จะแยกขายและให้ผู้ที่สะสมซื้อแยกตามรายแผ่น

ในคอนเสิร์ต Let's Go ที่ โยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2009 ได้มีการฉายขึ้นบนหน้าจอบนเวทีว่า "ซีซั่น 2 กำลังอยู่ในขั้นตอนการสร้าง" ด้วย โดยใช้ชื่อว่า K-On!! โดยเริ่มฉายวันที่ 7 เมษายน 2010 ทางช่อง TBS ในญี่ปุ่น

K-ON! Movie ฉายวันที่ 3 ธันวาคม 2011 ผลิตโดย เกียวโตแอนิเมชั่น และกำกับโดย นาโอโกะ ยามาดะ โดย ผกก.ยามาดะได้กล่าวไว้ในคอนเสิร์ตครั้งที่ 2 Come with Me เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2011 ที่ผ่านมา

เพลงเปิดของอะนิเมะนี้คือเพลง "Cagayake! Girls" และเพลงปิดคือเพลง "Don't say 'lazy'" ทั้งสองเพลงนั้นขับร้องโดย อากิ โทโยซากิ, โยโกะ ฮิคาสะ, ซาโตมิ ซาโต้ และ มินาโกะ โคโตบุคิ โดยทั้งสองซิงเกิลได้วางจำหน่ายไปเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2009 โดย Pony Canyon ซิงเกิลเพลงประกอบ เพลง "Fuwa Fuwa Time" (ญี่ปุ่น: ?????? Fuwa Fuwa Jikan ช่วงเวลาที่นุ่มนวล ?) ซึ่งใช้ขึ้นแสดงในตอนที่ 6 วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2009 เพลงประจำตัวละคร 7 ซิงเกิล ได้แก่ ยุย (โดย โทโยซากิ) และ มิโอะ (โดย ฮิคาสะ) วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2009 ซิงเกิลของ ริทสึ (โดย ซาโต้), สึมุกิ (โดย โคโตบุคิ) และอาซึสะ (โดย ทาเคทัตสึ) วางจำหน่ายไปเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2009 และซิงเกิลของ อุย (โดย โยเนซาว่า) และ โนโดกะ (โดย ฟูจิโต) จะวางจำหน่ายวันที่ 21 ตุลาคม 2009 ซาวด์แทร็คอะนิเมะ โดย ฮาจิเมะ เฮียกโกคุ วางจำหน่ายในวันที่ 3 มิถุนายน 2009 และสี่เพลงที่ใช้ขึ้นแสดงในตอนที่ 8 ของอะนิเมะนั้นจะวางจำหน่ายในรูปแบบมินิอัลบั้มชื่อ H?kago Tea Time (ญี่ปุ่น: ????????? H?kago T? Taimu เวลาน้ำชาหลังเลิกเรียน ?) ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2009 Maddy Candy ซิงเกิลของวง Death Devil วางจำหน่ายในวันที่ 12 สิงหาคม 2009 และอัลบั้มพิเศษ K-ON! Sakura Kou Keionbu Official Band Yarouyo!! Band Score Duke วางจำหน่ายวันที่ 2 กันยายน 2009

สำหรับในซีซันสองเพลงเปิดเพลงแรกคือ "Go! Go! Maniac" และเพลงปิดเพลงแรกคือ "Listen!!" ทั้งสองเพลงนั้นขับร้องโดย อากิ โทโยซากิ, โยโกะ ฮิคาสะ, ซาโตมิ ซาโต้, มินาโกะ โคโตบุคิ และ อายานะ ทาเคทัตสึ โดยทั้งสองซิงเกิลได้วางจำหน่ายไปเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2010 สำหรับเพลงเปิดเพลงที่สองคือเพลง "Utauyo!! Miracle" และเพลงปิดเพลงที่สองคือ "No, Thank You!" โดยทั้งสองซิงเกิลจะวางจำหน่ายวันที่ 4 สิงหาคม 2010 ส่วนซิงเกิลเพลงประกอบในตอนที่ 6 มีชื่อว่า "Pure Pure Heart" วางจำหน่ายในวันที่ 2 มิถุนายน 2010 ซิงเกิล "Love" โดยวง Death Devil วางจำหน่ายในวันที่ 23 มิถุนายน 2010 ซิงเกิลเพลง "Gohan wa Okazu/U&I" ขับร้องโดย โฮคาโกะ ที ไทม์ วางจำหน่ายวันที่ 8 กันยายน 2010 นักแต่งเพลงชื่อ Bice ซึ่งผู้แต่งเพลง "Gohan wa Okazu" ได้เสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว เมื่อเดือนกรกฎาคม 2010 ซิงเกิลในตอนที่ 24 มีชื่อว่า "Tenshi ni Fureta yo!" สำหรับซิงเกิลตัวละครชุดที่สอง โดยซิงเกิลของ ยุยและมิโอะ วางจำหน่ายวันที่ 21 กันยายน 2010 อัลบั้ม Ho-kago Tea Time II ออกจำหน่ายในรูปแบบปกติและลิมิตเต็ด เอดิชัน พร้อมกับ ตลับเทป วางจำหน่ายวันที่ 27 ตุลาคม 2010 ซิงเกิลตัวละครชุดที่สอง โดยซิงเกิลของ ริทสึ สึมุกิและอาซึสะ วางจำหน่ายวันที่ 17 พฤศจิกายน 2010 ซิงเกิลและอัลบั้มทั้งหมดผลิตและวางจำหน่ายโดย Pony Canyon

วิดีโอเกมพัฒนาโดย Sega โดยมีชื่อว่า K-On! H?kago Live!! (ญี่ปุ่น: ????! ??????!! Keion! H?kago Raibu!! ?) สำหรับเครื่อง เพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล วางจำหน่ายในวันที่ 30 กันยายน 2010 โดยรูปแบบการเล่นเป็นการกดปุ่มตามจังหวะโน้ตในเพลง ซึ่งตัวเกมนั้นสามารถเล่นโหมดผู้เล่นหลายคนได้มากที่สุดถึง 5 คน ตัวเกมประกอบด้วยเพลงจากอะนิเมะซีซันแรกและเพลงประจำตัวละครรวม 19 เพลง ผู้เล่นสามารถแต่งตัวตัวละคร ห้องชมรม และห้องนอนของยุย และยังสามารถสร้างเพลงได้ด้วย

ยอดจำหน่ายของมังงะ K-ON! เล่มแรกระหว่างวันที่ 27 เมษายน ถึง 3 พฤษภาคม 2009 รวมทั้งสิ้น 26,500 เล่ม และยังติดอันดับที่ 30 ของหนังสือขายดีประจำสัปดาห์ในญี่ปุ่นอีกด้วย และในสัปดาห์ต่อมา ยอดจำหน่ายของมังงะเล่มที่หนึ่งและสอง ระหว่างวันที่ 4 พฤษภาคม ถึง 10 พฤษภาคม 2009 รวมทั้งสิ้น 23,200 เล่ม และ 22,500 เล่ม ตามลำดับ และในเดือนพฤษภาคม 2009 ยอดจำหน่ายของมังงะรวมทั้งสองเล่ม จำหน่ายได้ทั้งหมดเล่มละ 136,000 เล่ม มังงะเล่มที่สามมียอดจำหน่ายมากกว่า 120,000 เล่มในระหว่างวันที่ 14-20 ธันวาคม 2009 และยังติดอันดับที่ 46 ของหนังสือขายดีประจำครึ่งเดือนแรกของปี 2010 (23 พฤษภาคม) โดยมียอดจำหน่ายมากกว่า 328,000 เล่ม

ส่วนซิงเกิลอะนิเมะ โดยเพลงเปิด "Cagayake! Girls" และเพลงปิด "Don't say 'lazy'" เปิดตัวโดยติดชาร์ตโอริกอนประจำสัปดาห์ได้อันดับที่ 4 และ 2 โดยยอดจำหน่ายรวมในสัปดาห์แรกได้ทั้งหมดประมาณ 62,000 แผ่น และ 67,000 แผ่น ตามลำดับ มินิอัลบั้ม Ho-Kago Tea time (After School Tea Time) เปิดตัวโดยติดชาร์ตโอริกอนประจำสัปดาห์ได้อันดับที่ 1 ยอดจำหน่ายรวม 67,000 แผ่น และเป็นครั้งแรกที่อัลบั้มเพลงจากตัวละครในอะนิเมะที่ติดชาร์ตอันดับสูงสุดสำหรับซิงเกิลอะนิเมะในซีซัน 2 โดยเพลงเปิด "Go! Go! Maniac" และเพลงปิด "Listen!!" เปิดตัวโดยติดชาร์ตโอริกอนประจำสัปดาห์ได้อันดับที่ 1 และ 2 โดยยอดจำหน่ายรวมในสัปดาห์แรกได้ทั้งหมดประมาณ 83,000 แผ่น และ 76,000 แผ่น ตามลำดับ สำหรับเพลงเปิดและปิดในซีซัน 2 คือ "Utauyo! Mircale" และ "No, Thank You!" ยอดจำหน่ายรวมในสัปดาห์แรกประมาณ 85,000 แผ่น และ 87,000 แผ่น โดยติดชาร์ตโอริกอนในอันดับ 3 และ 2 โดยอันดับหนึ่งคือเพลง "This is Love" ของวง SMAP เพลง "No, Thank You!" และ "Utauyo! Miracle" ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำจาก RIAJ เมื่อเดือนสิงหาคม 2010 เนื่องจากมียอดจำหน่ายมากกว่า 100,000 แผ่น ซิงเกิล "Gohan wa Okazu"/"U&I" เปิดตัวโดยติดชาร์ตโอริกอนประจำสัปดาห์ได้อันดับที่ 3 โดยยอดจำหน่ายรวมในสัปดาห์แรกได้ทั้งหมดประมาณ 53,000 แผ่น

สำหรับยอดจำหน่ายของดีวีดีแผ่นแรกอะนิเมะนั้น เปิดตัวได้อันดับที่ 7 ในชาร์ตโอริกอนประจำสัปดาห์ของวันที่ 29 กรกฎาคม 2009 ได้ยอดจำหน่ายรวม 8,000 ชุด ส่วน แผ่นบลูเรย์ นั้น ยอดจำหน่ายรวม 33,000 ชุด ในสัปดาห์เดียวกัน โดยติดชาร์ตอันดับสูงสุด ของชาร์ตโอริกอนบลูเรย์ และในเดือนสิงหาคม 2009 อะนิเมะแผ่นแรกของ K-ON! เป็นทีวีอะนิเมะที่ขายดีที่สุดในญี่ปุ่น โดยผู้ครองอันดับเดิมคือ มาครอสฟรอนเทียร์ ซึ่งมียอดจำหน่ายของแผ่นแรกรวม 22,000 ชุด และปัจจุบันยอดขายบูลเรย์สูงสุดประจำปี 2009 ในญี่ปุ่น คือ อีวานเกเลียน: 1.0 ยูอาร์ (น็อต) อโลน ซึ่งมียอดจำหน่ายรวม 96,000 ชุด ซึ่ง K-ON! แผ่นแรกนั้นอยู่อันดับที่ 10 (ถ้าจัดลำดับกับอะนิเมะด้วยกันแล้วจะอยู่อันดับที่ 5) ด้วยยอดจำหน่ายรวม 40,000 แผ่นK-ON! ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศในสาขา Best TV Animation Award ในงาน Tokyo International Anime Fair ประจำปี 2010 และ K-ON!! ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศในสาขา Best Television award ในงาน Animation Kobe Awards ประจำปี 2010 ด้วย

เมื่อต้นเดือนกันยายน 2010 ทางจังหวัดเกียวโต ได้ใช้ K-On!! มาช่วยประชาสัมพันธ์ในการสำรวจสำมะโนครัวของจังหวัด

มีการประกวดต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต ได้แก่ มิโอะได้รับการโหวตให้ได้แชมป์ International Saimoe ประจำปี 2010 และชนะด้วยคะแนนโหวตที่มากที่สุดเท่าที่เคยเปิดโหวต และชนะการประกวด The best moe tournament Female Division หรืออีกชื่อคือ Korea saimoe ประจำปี 2010 อาซึสะชนะการประกวด Japan saimoe หรือ Animesaimoe ประจำปี 2010


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301